เคล็ดลับการกรอกใบสมัครงาน


       
 การกรอกใบสมัครงานถือเป็นเรื่องที่สำคัญนะค่ะ จะต้องใช้ความละเอียดเพราะเป็นหลักฐานเบื้องต้นที่จะถูกตรวจ ก่อนการเชิญไปสัมภาษณ์ ผู้สมัครงานจำนวนไม่น้อยค่ะ ที่ไม่ได้งานเพราะกรอกใบสมัครงานผิดพลาด นักเรียน นักศึกษาที่พึ่งจบการศึกษาใหม่ ๆ มักจะมีปัญหาในการกรอกใบสมัครงาน เช่น ไม่เข้าใจในคำถาม ไม่รู้จักคำศัพท์บางคำ ไม่รู้ว่าควรจะตอบแบบไหนดี ระบุวัน  เดือน ปี ที่จบการศึกษาไม่ถูกต้อง ที่อยู่หรือเบอร์โทรศัพท์ที่จะให้ติดต่อกลับไม่ชัดเจน จึงต้องมีการเตรียมข้อมูลและเอกสารให้พร้อมตามนี้

1.ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง สถานศึกษา วุฒิการศึกษา
2.ความรู้ความสามารถพิเศษ
3.หลักฐานในการสมัครงานต่าง ๆ
4.รูปถ่ายหน้าตรง แต่งกายเรียบร้อย ไม่สวมหมวก
5.นำเอกสารสมัครงานและอุปกรณ์เครื่องเขียนต่าง ๆ ไปด้วย ไม่ควรไปยืมอุปรณ์เครื่องเขียนยังที่สมัครงาน เพราะอาจจะถูกมองว่าไม่มีการเตรียมความพร้อมที่จะสมัครงานได้ค่ะ
6.อ่านข้อความในใบสมัครให้จบก่อนที่จะลงมือเขียนข้อความ พร้อมทั้งศึกษาข้อกำหนดต่าง ๆ ในใบสมัคร ถ้าไม่เข้าใจก็ให้สอบถามทันที
7.ปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด ต้องเขียนด้วยลายมือตัวเอง หรือภาษาอังกฤษให้เขียนด้วยตัวพิมพ์
8.ถ้าใบสมัครงานมีข้อความที่จะต้องกรอกมากให้เรียบเรียงข้อความในกระดาษร่างก่อน โดยลำดับเหตุการณ์ช่วงเวลาที่เกิด เช่น การศึกษา การฝึกอบรม รายได้ที่เคยได้รับ 
9.กรอกข้อความให้ครบทุกช่อง ถ้าไม่มีข้อมูลจะกรอก ให้ขีดเครื่องหมาย " - "
10.คิดความยาวของข้อความที่กรอกลงในใบสมัครให้พอดี กับช่องว่างที่กำหนด  และ  ชัดเจน
11.การใช้อักษรย่อ ควรใช้ในกรณีที่จำเป็น  และต้องเป็นอักษรย่อที่ทุกคนเข้าใจความหมายตรงกัน
12.หากบริษัทให้ระบุบุคคลอ้างอิง  เพื่อการตรวจสอบ  ควรเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ  มีตำแหน่งหน้าที่การงานดี  มีความสนิทสนมและทราบถึงความสามารถของคุณเป็นอย่างดี  ข้อสำคัญต้องแจ้งให้บุคคลนั้นทราบล่วงหน้าด้วย  โดยแจ้งที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ของบุคคลที่อ้างอิงไว้ด้วย
13.เมือกรอกข้อมูลเสร็จแล้วให้ตรวจทานอีกครั้งว่าถูกต้องสมบูรณ์หรือไม่  พร้อมทั้งแนบหลักฐานการสมัครงานให้ครบก่อนส่งเจ้าหน้าที่ผู้รับใบสมัคร
14.อย่าลืมสอบถามเจ้าหน้าที่บริษัทจะให้ดำเนินการอย่างไรต่อไป


คำแนะนำในการกรอกใบสมัคร
1.เริ่มจากการเขียนใบสมัครทั้งหมดอย่างรอบคอบก่อนแล้วจึงลงมือกรอกรายละเอียดตามหัวข้อที่กำหนด (ควรกรอกทุกข้อ)
2.กรอกรายละเอียดด้วยตัวบรรจงให้อ่านง่ายเป็นระเบียบเรียบร้อย ตัวสะกดการันต์ให้ถูกต้อง  ถ้ากรอกแบบทำให้คนอ่านต้องพยายามที่จะอ่านให้ออก ใบสมัครของคุณอาจจะไม่ได้รับการพิจารณาก็ได้นะค่ะ  เพราะเขาไม่พยายามที่จะอ่าน
3.คำถามที่ปรากฏอยู่ในใบสมัครอาจจะเป็นข้อสำภาษณ์ของคุณก็ได้ เช่น งาน อดิเรกที่ชอบ กีฬาที่ชอบ ฉะนั้นควรกรอกตามความเป็นจริง  ถ้าคุณกรอกไม่ตรงกับที่คุณชอบเมื่อผู้สัมภาษณ์ถามถึงเรื่องเหล่านี้ คุณอาจจะตอบไม่ตรงกับที่คุณระบุไว้เพราะจำไม่ได้  ผู้สัมภาษณ์อาจจะมองว่าคุณไม่มีความซื่อสัตว์ สุจริต  เพราะทุกถ้อยคำที่กรอกในใบสมัครคุณจะต้องลงชื่อรับรองว่าเป็นความจริง  เพราะพูดที่ไรย่อมจะตรงกันเสมอ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น